รู้จักชนิดของฝ้า เพื่อรักษาให้ตรงจุด!!

Last updated: 20 Jan 2023  | 

รู้จักชนิดของฝ้า เพื่อรักษาให้ตรงจุด!!

เมื่ออายุเริ่มย่างเข้าสู่เลข 3 ปัญหาผิวยอดฮิตอันดับต้น ๆ ที่พบได้บ่อย คงหนีไม่พ้น “ฝ้ากระ” กวนใจ ที่ทำเอาสาว ๆ หลายคนเสียความมั่นใจกันไปไม่น้อย ซึ่งเพื่อน ๆ รู้ไหมว่า “ฝ้า” มีหลายชนิด แต่ละแบบก็มีสาเหตุ ลักษณะ และวิธีรักษาที่แตกต่างกันออกไป

รูปฝ้า

เพื่อให้เราสามารถรักษาฝ้าได้ถูกวิธี! วันนี้ Merci ได้รวบรวมชนิดของฝ้าที่พบได้บ่อยในปัจจุบันมาให้แล้ว ไปทำความรู้จักกันเลย!


1. ฝ้าแดด
เริ่มกันที่ฝ้าชนิดแรกอย่าง “ฝ้าแดด” ถือเป็นฝ้าที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะแดดบ้านเรามันช่างร้อนแรงเอามาก ๆ จึงทำให้คนไทยเป็นฝ้าแดดกันเยอะมาก

โดยฝ้าชนิดนี้ เกิดจากรังสี UVA และ UVB จากแสงแดด เป็นรังสีที่มีความเข้มข้นสูง สามารถทะลุทะลวงและทำลายชั้นผิวได้ลึก จึงกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีอย่าง “เมลาโนไซท์” ผลิตเม็ดสีเมลานินออกมามากขึ้น เกิดเป็น “ฝ้าแดด” ซึ่งมีลักษณะเป็นรอยสีน้ำตาลคล้ำ ดำ แดง หรือเทาอมม่วง



ไม่ใช่แค่เพียงแสงแดดเท่านั้น ที่กระตุ้นให้เกิดฝ้าแดดได้ แต่สิ่งใกล้ตัวที่เราอาจคาดไม่ถึงอย่างแสงจากหลอดไฟ แสงจากคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ล้วนกระตุ้นให้เกิดฝ้าแดดได้เช่นก้น ซึ่งหากปล่อยปละละเลย ไม่รีบดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะเกิดการสะสมจนทำให้ฝ้าเข้มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะในชีวิตประจำวัน เราต่างได้รับแสงแดดและแสงต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นประจำอยู่แล้ว

2. ฝ้าฮอร์โมน
“ฝ้าฮอร์โมน” พบมากในคุณแม่ตั้งครรภ์ และผู้ที่รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด โดยในช่วงนั้นร่างกายจะเกิดภาวะฮอร์โมนแปรปรวน โดยมีปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงอย่างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) สูงกว่าปกติ จึงกระตุ้นให้มีการผลิตเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้น จึงเกิดฝ้าได้ง่าย หรือในบางรายอาจสังเกตเห็นว่าฝ้าที่เป็นอยู่มีสีเข้มขึ้น

ทั้งนี้ทั้งนั้น ฝ้าฮอร์โมนจะค่อย ๆ จางลงและหายเองได้ เมื่อผ่านพ้นช่วงตั้งครรภ์หรือหยุดยา จะช่วยให้ฝ้าที่เป็นอยู่ค่อย ๆ ดีขึ้นได้



ฝ้าแดด และฝ้าฮอร์โมน หากเกิดที่บริเวณผิวชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) จะจัดเป็น “ฝ้าตื้น” แต่หากเกิดที่ผิวชั้นหนังแท้ (Dermis) จะจัดเป็น“ฝ้าลึก”

ฝ้าตื้น : มีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาล ขอบชัด
ฝ้าลึก : มีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาลเทา ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน แทบจะกลืนกับผิวหน้าเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งรักษาได้ยาก
รูปฝ้าตื้น ฝ้าลึก

3. ฝ้าเลือด
“ฝ้าเลือด” (Vascular melasma) หลายคนมักไม่คุ้นหูกับฝ้าชนิดนี้ แต่รู้หรือไม่ว่า? คนไทยเป็น “ฝ้าเลือดกันเยอะมาก” โดยฝ้าเลือดเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยในชั้นหนังแท้ โดยมีการเพิ่ม ขยายตัวหรือเสื่อมสภาพจนไม่สามารถกักเก็บเลือดได้ ทำให้เส้นเลือดฝอยแตก เกิดเลือดกระจุกใต้ชั้นผิวหนัง เกิดเป็น “ฝ้าเลือด” ซึ่งมีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาลแดง เห็นเป็นรอยแดง ๆ คล้ายเส้นเลือด



สำหรับสาเหตุการเกิด “ฝ้าเลือด” พบว่ามีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน อาทิเช่น

ผิวได้รับรังสี UV จากแสงแดดเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์ผิวหนังบริเวณนั้นเสื่อมสภาพ
ครีมเร่งผิวขาวที่มีสารอันตราย เช่น ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) หากใช้เป็นเวลานานจะทำให้ผิวบาง และกระตุ้นให้เกิดฝ้าเลือด
ครีมบำรุงผิวที่มีสารอันตราย เช่น ปรอท สเตียรอยด์ หากใช้เป็นเวลานาน จะกระตุ้นให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวมากขึ้นจนเกิดเป็นฝ้าเลือด
"ฝ้า" รักษาอย่างไรดี?
วิธีรักษาฝ้าที่ถูกต้อง ต้องเริ่มหาสาเหตุการเกิดฝ้าของตัวเอง จึงจะรักษาได้อย่างตรงจุด เช่น

หากเป็นฝ้าแดด : ควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจัด และทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ
หากเป็นฝ้าจากการทานยาคุมกำเนิด : แนะนำให้หยุดยา แล้วปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีคุมกำเนิดโดยใช้วิธีอื่น
หากเป็นฝ้าเลือด : ควรหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่มีสารอันตรายอย่างปรอทและสเตียรอยด์ พร้อมรีบพบแพทย์โดยทันที
นอกจากนี้ ควรเสริมด้วยการบำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการทาครีมหรือเซรั่มที่มีสรรพคุณช่วยลดเลือนรอยฝ้า โดยแนะนำให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น

วิตามินซี ช่วยบำรุงผิวให้ขาวกระจ่างใส โดยยั้บยังการผลิตเอนไซม์ Tyrosinase (เอนไซม์ที่กระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานิน สาเหตุของฝ้า)
PHA ช่วยผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยนและมีประสิทธิภาพ
แพลงก์ตอน ช่วยให้รอยฝ้า กระ จุดด่างดำแลดูจางลง
วิตามินบี 3 ช่วยเติมความชุ่มชื้นให้ผิวอิ่มน้ำ



ขอแนะนำ “เมอร์ซี่ วิตซี เซรั่ม” ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ผ่านกระบวนการเทคโนโลยีขั้นสูง จัดการ ฝ้า กระ จุดด่างดำได้อย่างตรงจุด พร้อมลดความหมองคล้ำให้ผิวแลดูกระจ่างใส ด้วยอนุพันธ์ Vitamin C ที่มีความคงตัวสูงอย่าง “3-O-ethyl ascorbic acid” ผสาน Whitening complex ที่มีสารสกัดถึง 7 ชนิด ปกป้องและยับยั้งการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน ต้นเหตุของฝ้า

ได้เวลาบอกลาฝ้า กระ จุดด่างดำ อย่างปลอดภัย สนใจสั่งซื้อสินค้า คลิกที่นี่!

 

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก…

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bioderma
dermnet all about the skin

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy