ครีมกันแดดมีกี่ประเภท? แบบไหนเหมาะกับผิวคุณ

Last updated: 5 พ.ค. 2567  | 

ครีมกันแดดมีกี่ประเภท? แบบไหนเหมาะกับผิวคุณ

เข้าสู่ช่วงหน้าร้อนแบบนี้ คงไม่มีอะไรฮอตไปกว่าแดดประเทศไทยอีกแล้ว ดังนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ครีมกันแดด ไอเทมที่จะช่วยปกป้องผิวของเราจากแสงแดดตัวร้าย ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาผิวต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ผิวหมองคล้ำ ผิวไหม้แดด เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ ริ้วรอยก่อนวัย หรือแม้กระทั่งมะเร็งผิวหนัง

ปัจจุบัน มีครีมกันแดดให้เลือกใช้มากมายหลายรูปแบบ ทั้งยังมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป วันนี้ เมอร์ซี่ จึงอยากพาทุกคนไปเจาะลึกถึงประเภทของครีมกันแดด ความแตกต่างและวิธีการทำงานของครีมกันแดดแต่ละชนิด รวมถึงวิธีการเลือกใช้ครีมกันแดดให้เหมาะกับผิวของเรา ตามไปดูพร้อมกันในบทความนี้เลย

“ครีมกันแดด” มีกี่ ประเภท เลือกใช้อย่างไรดี?

ครีมกันแดดในปัจจุบัน แบ่งได้ 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen)

ครีมกันแดดประเภท Physical Sunscreen หรือที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า Mineral Sunscreen มีกลไกการทำงานในการปกป้องผิวด้วยการ “สะท้อนรังสี UV ออกไปจากผิวหนัง”

จุดเด่น

  • ป้องกันรังสี UV ได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นรังสี UVA1 (ทำให้เกิดริ้วรอย ฝ้า กระ มะเร็งผิวหนัง) UVA2 (ทำให้ผิวคล้ำ ผิวไหม้) และ UVB (ทำให้ผิวคล้ำ ผิวไหม้)
  • ทาแล้วสามารถออกแดดได้ทันที
  • โอกาสอุดตันน้อย ทำให้โอกาสแพ้ต่ำ
  • เหมาะสำหรับคนผิวแพ้ง่าย

จุดด้อย

  • เนื้อครีมค่อนข้างหนา ทำให้เกลี่ยยากกว่าแบบอื่น และอาจรู้สึกหนักหน้าเล็กน้อย
  • ใช้แล้วอาจทำให้หน้าวอก หน้าลอยได้
  • เมื่อโดนเหงื่อ อาจหลุดออกได้ง่าย

สารกันแดดกลุ่ม Physical Sunscreen เช่น Titanium Dioxide และ Zinc Oxide โดยสารพวกนี้จะอยู่บนผิวหนัง ไม่ซึมซาบเข้าสู่ผิว

2. ครีมกันแดดประเภทเคมิคอล (Chemical Sunscreen)

ครีมกันแดดประเภท Chemical Sunscreen มีกลไกการทำงานในการปกป้องผิวด้วยการ “ดูดซับรังสี UV เข้ามาในตัวสารที่เคลือบอยู่บนผิวหนัง จากนั้นจะเปลี่ยนรังสี UV ให้กลายเป็นความร้อนเข้าสู่ผิวหนังแทน เพื่อไม่ให้รังสี UV ทะลุผ่านไปยังผิวหนังได้”

จุดเด่น

  • ส่วนใหญ่ป้องกันแค่รังสี UVB (ทำให้ผิวคล้ำ ผิวไหม้)
  • เนื้อครีมบางเบากว่าประเภทอื่น ทาง่าย
  • ไม่ทำให้หน้าขาววอก

จุดด้อย

  • เนื้อครีมค่อนข้างหนา ทำให้เกลี่ยยากกว่าแบบอื่น และอาจรู้สึกหนักหน้าเล็กน้อย
  • โอกาสแพ้ ระคายเคืองง่าย
  • หลังทา ต้องรออย่างน้อย 20 นาที เพื่อให้ครีมกันแดดออกฤทธิ์ได้เต็มประสิทธิภาพ
  • ไม่เหมาะกับคนผิวมัน เพราะอาจทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิวได้

สารกันแดดกลุ่ม Chemical Sunscreen เช่น Avobenzone, Oxybenzone, Octinoxate, Tinosirb และ Octocrylene เป็นต้น

3. ครีมกันแดดประเภทไฮบริด หรือแบบผสม (Hybird Sunscreen)

ถือเป็นครีมกันแดดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดยครีมกันแดดประเภท Hybrid Sunscreen เป็นการผสมผสานระหว่างครีมกันแดดแบบ Physical และ Chemical เข้าด้วยกัน โดยดึงเอาข้อดี ลดข้อด้อยของทั้งสองแบบมารวมกัน ทำให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดดียิ่งขึ้น

มีกลไกการทำงาน คือ “ดูดซับและสะท้อนรังสี UV ออกไปจากผิว”

จุดเด่น

  • ป้องกันรังสี UV ได้ครบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นรังสี UVA1 UVA2 และ UVB
  • โอกาสแพ้ ระคายเคืองน้อย
  • ทาแล้วหน้าไม่วอก ไม่เป็นคราบ
  • เนื้อครีมเกลี่ยง่ายมากขึ้น ไม่เหนียวเหนอะหนะ

สารกันแดดกลุ่ม Hybrid Sunscreen เช่น Tinosorb M, Bis-Ethylhexyloxyphenol Methoxyphenyl Triazine (BEMT)

เลือกใช้กันแดดอย่างไร? ให้เหมาะกับผิวเรา

  • หากเป็นคนผิวบอบบาง แพ้ง่าย ควรเลือกใช้ครีมกันแดดประเภท Hybrid หรือ Physical เนื่องจากอุดตันในรูขุมขนน้อย โอกาสแพ้ ระคายเคืองจึงต่ำ
  • หากเป็นคนผิวแข็งแรง เกิดอาการแพ้ได้ยาก สามารถเลือกใช้ครีมกันแดดได้ทุกประเภท

ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของน้ำหอม แอลกอฮอล์ และซิลิโคน เพราะเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย

เพราะแดดเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือออกแดด ทุกคนก็ควรทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน และแนะนำให้สวมแว่นกันแดด สวมหมวก หรือกางร่ม เมื่อต้องออกแดด เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวของเราหมองคล้ำ และมีสุขภาพผิวที่ดีอยู่เสมอ

เลือกกันแดดทั้งที ต้อง “กันแดดเมอร์ซี่” SPF50+ PA+++ นวัตกรรม Hybrid Sunscreen ปกป้องขีดสุดด้วย 9 UV Filter (สารกันแดด 9 ชนิด) บล็อครังสี UV ได้ครบทุกมิติทั้ง UVA1 UVA2 และ UVB มีส่วนผสมของ GO-VC วิตซีนวัตกรรมใหม่ นำเข้าจากญี่ปุ่น ช่วยอัพผิวใสขึ้นทันที แต่ไม่วอก ไม่ลอย ไม่มีน้ำหอม คนผิวแพ้ง่ายใช้ได้ พร้อมสู้แดดได้อย่างมั่นใจ!

สนใจสั่งซื้อสินค้า คลิกที่นี่!

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้